19899 จำนวนผู้เข้าชม |
การเวนคืน เป็นวิธีง่ายๆ ในการนำเงินจากกรมธรรม์ประกันชีวิตมาใช้จ่ายเมื่อจำเป็น แต่จะเลือกแบบประกันอย่างไรให้เวนคืนแล้วนอกจากได้คุ้มทุน ยังได้ผลตอบแทนสูงไม่แพ้พันธบัตรบางแบบและไม่ต้องเสียภาษีดอกผลที่ได้ ทำให้ประกันชีวิตมีมูลค่าเหมือนประกันสะสมทรัพย์ โดยเอาเงินมาใช้ในปีไหนก็ได้ที่เราร้อนเงิน ได้ทั้งผลตอบแทนดีและความคุ้มครองชีวิตสูง รวมทั้งได้สิทธิลดหย่อนภาษีอีกด้วย
แบบประกันที่เหมาะกับการเวนคืนในระหว่างสัญญาที่จะแนะนำคือ ซุปเปอร์ โพรเทคชั่น 90/5 ชำระเบี้ยเพียง 5 ปี หลังจากทำประกันไปแล้วประมาณ 7-10 ปีก็จะถึงจุดคุ้มทุน และจากนั้น ไม่ว่าจะปิดกรมธรรม์ในปีใด ก็จะได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากเบี้ยที่ชำระ
หมายเหตุ ปัจจุบันแบบ 90/5 ปรับเปลี่ยนเป็น 99/7 แล้ว สนใจทักไลน์ สอบถามได้ค่ะ https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS
จุดเด่นของซุปเปอร์โพรเทคชั่น 90/5
-> Protection
คุ้มครองยาวถึงอายุ 99 ถ้าอยู่ครบอายุ 99 รับเงินคืนเท่าความคุ้มครองชีวิตที่ทำ
-> Saving
จ่ายเบี้ยสั้นเพียง 5 งวด และหากเวนคืนระหว่างสัญญา ให้เงินคืนสูงกว่าแบบอื่นๆ คล้ายเป็นประกันสะสมทรัพย์ที่มีผลตอบแทนจากการออมเงิน
-> Tax
เบี้ยที่ชำระสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท และเงินที่ได้จากการเวนคืนรวมทั้งผลตอบแทนไม่ต้องเสียภาษี
-> Legacy
สร้างกองมรดกผ่านประกันแบบที่ผู้รับไม่ต้องเสียภาษีมรดก และรับเงินโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของศาล
การเลือกแบบประกันที่ได้ทั้งความคุ้มครองชีวิตสูงและได้ผลตอบแทนดี
ตัวอย่าง ชายอายุ 35 ปี ต้องการออมเงินปีละ 100,000 เป็นเวลา 5 ปี เท่ากับเงินออมทั้งหมดคือ 500,000
วิธีเลือกแบบที่เหมาะกับการเวนคืน คือ จะต้องหา "จุดคุ้มทุน" ก่อน ดูว่าเราออมเงินไปทั้งหมดเท่าไหร่ และได้รับเงินของเราคืนเต็มจำนวนในปีที่เท่าไหร่
เมื่อชำระเบี้ยปีแรก 100,000 จะได้รับความคุ้มครองชีวิตทันที 1,488,095 หรือคิดง่าย ๆ ประมาณ 1.5 ล้าน
และหากเขารอจนครบกำหนดสิ้นสุดกรมธรรม์ตามปกติของแบบ 90/5 คือเมื่อเขาอายุ 90 ปี ซึ่งเขาจะได้เงินประมาณ 1.5 ล้านเท่ากับความคุ้มครองชีวิตนั่นเอง
หมายความว่า จากเงิน 500,000 จะกลายเป็นเงินเกือบ 1.5 ล้าน ซึ่งเท่ากับเพิ่มขึ้นเกือบๆ 3 เท่าจากเงินต้นเลยทีเดียว
การหาจุดคุ้มทุน
ถ้าเรามีเหตุต้องใช้เงินในระหว่างที่กรมธรรม์ยังไม่สิ้นสุด เราก็จะต้องเวนคืนหรือปิดกรมธรรม์
การเลือกแบบที่จะทำเผื่อกรณีร้อนเงินกระทันหัน จึงต้องเน้นดูว่าปีไหนจึงจะเป็นปีที่ถึงจุดคุ้มทุน ซึ่งตามตารางต้องช่องขวาสุดนี้นะคะ จะเห็นว่า ในปีที่ 8 จะได้เงินเวนคืน 501,488 เกินจากเงินต้นที่ออมไป 500,000
การเวนคืนหลังพ้นจุดคุ้มทุน
ถ้าเวนคืนในปีที่ 10 จะได้เงินเวนคืน 531,250 เกินจากเงินต้นที่ออมไป 500,000 ถึง 31,250
ถ้าเวนคืนในปีที่ 15 จะได้เงินเวนคืน 611,607 เกินจากเงินต้นที่ออมไป 500,000 ถึง 111,607
จะเห็นว่า เมื่อพ้นจุดคุ้มทุนในปีที่ 8 แล้ว เราสามารถเลือกได้เลยว่าจะเอาเงินออกมาใช้จ่ายในปีไหน ทำให้เราใช้แบบประกันนี้เป็นแบบระยะสั้น ระยะกลางหรือระยะยาวในการเก็บออมเงินได้ เพราะนอกจากจะได้ความคุ้มครองชีวิตสูง ยังถึงจุดคุ้มทุนเร็วและมีผลตอบแทนดีอีกด้วย
การคำนวณผลตอบแทน IRR ของแต่ละปีที่ออมเงิน
เมื่อเรานำเงินที่ได้จากการเวนคืนในแต่ละปีมาคำนวณหาค่าผลตอบแทนที่คาดหวังหรือ IRR เทียบกับการฝากเงินกับธนาคารแล้ว จะได้ค่า IRR ตามตารางดังนี้
เช่น
เวนคืนปีที่ 10 ชำระเบี้ยเป็นเงินออมทั้งหมด 5 งวด ก็เหมือนกันเป็นแบบประกัน 10/5 เวนคืนได้เงิน 531,250 คิดเป็นผลตอบแทน IRR 0.76% (ถึงจะค่อนข้างน้อย แต่เทียบกับแบบประกันอื่นซึ่งปีที่ 10 อาจจะยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน ก็ยังถือว่าแบบนี้ได้มากกว่าและยังได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับพันธบัตรบางแบบโดยที่ไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วยค่ะ)
เวนคืนปีที่ 15 ชำระเบี้ยเป็นเงินออมทั้งหมด 5 งวด ก็เหมือนกันเป็นแบบประกัน 15/5 เวนคืนได้เงิน 611,607 คิดเป็นผลตอบแทน IRR 1.56%
ถึงจุดนี้ ทุกคนก็น่าจะสามารถเลือกแบบประกันชีวิตที่เผื่อว่าถ้าเราต้องใช้เงินฉุกเฉินก็จะเอาเงินต้นที่จ่ายเบี้ยออกมาใช้ได้อย่างคุ้มๆ หรืออาจมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นการประกันออมเงินตั้งแต่แรกก็ได้ โดยเทคนิคอยู่ที่การเลือกแบบที่มีมูลค่าเวนคืนในแต่ละปีสูงนั่นเอง
หากสนใจคำนวณมูลค่าเงินเวนคืนจากการทำประกันแบบนี้ในอายุของคุณ เพียงแจ้งเพศและอายุ ผ่าน Line : 0849290088 หรือสามารถติดต่อเราได้ที่ https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS
เขียนโดย ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP® (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
ผู้จัดการขาย A+ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง
วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: @Wangpaan
Facebook: Wangpaan
Twitter: @Wangpaan
Youtube: Wangpaan
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ