178386 จำนวนผู้เข้าชม |
กองทุนสำรองสำรองเลี้ยงชีพ เป็นหนึ่งสวัสดิการของพนักงานกินเงินเดือนทั่วๆไป เพื่อเป็นเงินไว้ใช้หลังเกษียณ แต่เราอาจจะย้ายที่ทำงานใหม่หรือลาออกไปทำงานอิสระ เมื่อเราลาออกจากงานก็จะทำให้เราจำเป็นต้องลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปด้วย และหากการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนอายุ 55 ปีหรือตอนที่ยังทำงานไม่ครบ 5 ปีนั้น จะต้องเอาเงินที่ได้ไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
การออกจากงานมีหลายแบบ เช่น ออกจากที่เก่าแล้วย้ายไปทำที่ใหม่ หรือออกเนื่องจากการเกษียณอายุ วันที่เราลาออกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคืออายุ ณ วันที่ออกจากงานทั้งอายุงานและอายุตัวเราซึ่งแต่ละกรณี เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีเงื่อนไขการเสียภาษีต่างๆ กัน
ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อน ว่ากองทุนนี้มีการแบ่งเงินออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. เงินสะสมส่วนของตนเอง (ได้รับการยกเว้นภาษี)
2. เงินสมทบส่วนของนายจ้าง
3. เงินผลประโยชน์จากการลงทุนในส่วนของเงินสมทบของตนเอง
4. เงินผลประโยชน์จากการลงทุนในส่วนของเงินสมทบของนายจ้าง
เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงขีพและต้องคำนึงเรื่องการนำมารวมคำนวณภาษีสิ้นปีเฉพาะเงิน 3 ส่วนหลัง คือ เงินสมทบส่วนของนายจ้าง, เงินผลตอบแทนจากการลงทุนในส่วนของเงินสมทบของตนเอง และเงินผลตอบแทนจากการลงทุนในส่วนของเงินสมทบของนายจ้าง (สำหรับเงินสะสมในส่วนของตัวเอง จะได้รับการยกเว้นภาษี)
เมื่อออกจากงาน เราจะต้องดูอายุงาน และอายุตัวเราว่าเท่าไหร่บ้าง
กรณีที่ 1 ทำงาน 5 ปีขึ้นไปและอายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ทั้งจำนวน (ต้องครบเงื่อนไขทั้ง 2 อย่างนะคะ คือทั้งอายุงานและอายุตัวเอง)
กรณีที่ 2 อายุงานถึง 5 ปี (แต่อายุตัวเรายังไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์) มีสิทธิเสียภาษีในรูปแบบใบแนบฯ ซึ่งการเสียภาษีแบบนี้สามารถหักค่าใช้จ่ายกรณีพิเศษทำให้มักมีภาระภาษีต่ำกว่าภาษีรูปแบบปกติ คือ หักค่าใช้จ่าย 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน + เงินได้ – 7,000 คูณจำนวนปีที่ทำงาน หารด้วย 2 แล้วค่อยนำตัวเลขหลังหักภาษีมาคำนวณตามอัตราก้าวหน้า
กรณีที่ 3 อายุงานไม่ถึง 5 ปี(ไม่ว่าอายุตัวเราจะเท่าไหร่ก็ตาม) ก็ จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ คือต้องนำเงินทั้งหมดไปเสียภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยเงินนี้ถือเป็นเงินได้ 40(1) และยื่นเสียภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
ในกรณีที่ 3 นี้ หากยังไม่ต้องการนำเงินกองทุนนี้มาใช้จ่าย หรืออยากให้เงินก้อนนี้เปลี่ยนเป็นเงินที่ไม่ต้องเสียภาษีอย่างถูกต้อง เราจะยังไม่รับเงินมาและสามารถรับสิทธิ์การยกเว้นภาษีได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้
3.1 พักไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจนมีอายุงานถึง 5 ปีและมีอายุตัวเอง 55 ปีบริบูรณ์ค่อยนำออกมาใช้ ก็จะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษี
3.2 หากเราย้ายที่ทำงาน เราสามารถโอนเงินนี้ไปที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างคนใหม่ และนับอายุการทำงานต่อจากที่ทำงานเดิมต่อไปได้
3.3 โอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปเป็นกองทุน RMF ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แล้วใช้เงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ของ RMF ในการยกเว้นภาษีต่อไป
ตัวอย่าง
หากเราทำงานมาแล้ว 10 ปี และลาออกเมื่อมีอายุ 50 ปี พร้อมกับนำเงินออกจากกองทุนเพื่อใช้จ่าย โดยได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยเงินสะสมของตัวเอง 300,000 และได้รับเงินสมทบของนายจ้าง, เงินผลประโยชน์ทั้งส่วนของตัวเองและเงินผลประโยชน์ส่วนของเงินสมทบจากนายจ้าง รวมเป็นเงิน 500,000 บาท เราจะคำนวณเสียภาษีอย่างไร
วิธีคำนวณภาษี
เงินที่ได้ทั้งหมดเป็นฐานในการคำนวณภาษีนับจาก 3 ส่วนคือ เงินสมทบของนายจ้าง, เงินผลประโยชน์ทั้งส่วนของตัวเองและเงินผลประโยชน์ส่วนของเงินสมทบจากนายจ้าง รวมเป็นเงิน 500,000 บาท
หักค่าใช้จ่ายกรณีพิเศษ
- ค่าใช้จ่ายส่วนแรก 7,000 คูณจำนวนปีที่ทำงาน = 7,000 x 10 = 70,000
- ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 คือ เงินได้ทั้งหมด ลบด้วย 7,000 คูณจำนวนปีที่ทำงาน แล้วหาร 2
= (500,000 – 70,000) หาร 2 = 430,000 /2 = 215,000
นำค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วนมารวมกัน 70,000 + 215,000 = 285,000
นำเงินได้มาหักค่าใช้จ่ายที่คำนวณได้ = 500,000 – 285,000 = 215,000
215,000 คือยอดเงินได้หลังหักภาษีกรณีพิเศษตามใบแนบ ที่จะต้องนำไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้าของการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เช่น ปี 2561 (ยื่น ปี 2562) เงินได้ 300,000 แรก เสียภาษีอัตรา 5%
ยอดเงินภาษีคือ 215,000 x 5% = 10,750 บาท
ตอบ เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 500,000 บาท เสียภาษี 10,750 บาท เมื่อเข้าใจวิธีเสียภาษีแบบนี้แล้ว ถ้ากำลังคิดจะลาออกจากงานหรือต้องการเอาเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาใช้ ก็ลองคิดดี ๆ นะคะ ว่าจะเลือกได้เงินใช้เร็วแต่ต้องเสียภาษีหรือจะคงเงินไว้ที่กองทุนหรือจะย้ายไปกองทุนใหม่และเก็บเงินนี้ไว้ใช้ยามแก่พร้อมกับได้รับการยกเว้นภาษีด้วย อันไหนจะคุ้มกว่ากัน
=========================
ฟรี…บริการออกแบบประกันของคุณความความต้องการ
เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน สามารถกำหนดเบี้ยที่จะจ่ายและเงินที่จะรับแต่ละปี ส่งมาที่
แอดไลน์ : 0849290088 หรือคลิก https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS
วางแผนดอทคอมจะส่งแบบประกันหลากหลายให้ทางไลน์โดยเร็วที่สุดค่ะ
สอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®, MDRT
Tel&Line : 0849290088
ผู้จัดการขาย Triple A บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
Facebook: Wangpaan
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscribe จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ...