How to วิธีคำนวณลดหย่อนภาษีของประกันบำนาญ ซื้อประกันบำนาญเท่าไหร่ถึงจะคุ้ม

45892 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลดหย่อนภาษี

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีด้วยประกัน
ก่อนจะเอาเบี้ยประกันบำนาญมาใช้ลดหย่อนภาษี เราต้องรู้วิธีคำนวณและเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนก่อน ด้วยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ ซึ่งใช้ลดหย่อนได้ทั้งแบบ 100,000 บาทแรกและ 200,000 บาทหลัง ซึ่งมีด้วยกัน 4 กรณี

1. เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป ใช้ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่เบี้ยประกันบำนาญ (แบบลดหย่อนภาษีได้) ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท และไม่เกิน 15% ของเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี ซึ่งเงินก้อนนี้เมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) รวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาท

2. ถ้าใครที่ยังไม่มีประกันชีวิตแบบทั่วไป สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหักลดหย่อนแทนเบี้ยประกันชีวิต ก็แปลว่าเราจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท ทำให้เราเสียภาษีน้อยลง หรืออาจจะได้เงินคืนภาษีกลับมา

3. ถ้าใครมีประกันชีวิตแบบทั่วไปแล้ว แต่ยังไม่เต็ม 100,000 บาทแรก สามารถใช้เบี้ยประกันบำนาญไปลดหย่อนในส่วนของโควต้าเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปได้

4. กรณีมีคู่สมรส และทั้งคู่เป็นผู้ชำระเบี้ยสามารถแยกยื่นภาษีในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตของประกันแบบบำนาญ เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนของตนเองได้ สูงสุดคนละ 200,000 บาท
 
ตัวอย่างที่ 1

 

สมมติว่า ถ้าปีนี้เรามีรายได้ 3,500,000 บาท ซื้อประกันชีวิตแบบทั่วไปปีละ 50,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุน RMF ไว้ 300,000 เราควรจะซื้อประกันชีวิตบำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้โดยชำระเบี้ยประกันปีละเท่าไหร่ จึงจะสามารถใช้สิทธิได้เต็มจำนวน และจะประหยัดภาษีไปได้เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่

วิธีคิดแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1

ตรวจสอบสิทธิของประกันชีวิตปกติว่าถึง 100,000 บาทหรือยัง

ผลการคำนวณ 100,000 – ประกันปกติ 50,000 คือเหลือสิทธิลดหย่อนด้วยประกันบำนาญอีก 50,000 บาท

 

ขั้นที่ 2

ตรวจสอบสิทธิของประกันชีวิตบำนาญรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งรวมกันต้องไม่เกิน 500,000 ว่าเหลือสิทธิอีกเท่าไหร่

ผลการคำนวณ 500,000 – RMF 300,000 คือเหลือสิทธิลดหย่อนด้วยประกันบำนาญอีก 200,000 บาท

 
ขั้นที่ 3

ตรวจสอบสิทธิลดหย่อนประกันบำนาญไม่เกิน 15% ของเงินได้ (ไม่เกิน 200,000)

ผลการคำนวณ 3,500,000 x 15% คือ มีเพดานสูงสุดไม่เกิน 525,000 บาท แต่จากขั้นที่ 1 และ 2 คำนวณเหลือสิทธิ 50,000 + 200,000 นั่นคือ เราจะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีในโควต้าประกันบำนาญได้ไม่เกิน 250,000 บาท

ผลการคำนวณภาษีที่ประหยัด

ถ้าสมมติเราเสียภาษีอยู่ที่ขั้นภาษีที่อัตรา 15% ก็เท่ากับว่า เราจะสามารถประหยัดภาษีไปได้อย่างน้อย 250,000 x 15% = 37,500 บาทต่อปี

 
ตัวอย่างที่ 2

สมมติ ถ้าเรามีรายได้ทั้งปี 2,000,000 บาท แล้วเราซื้อประกันบำนาญไป 350,000 บาท โดยไม่เคยซื้อประกันชีวิตแบบทั่วไป ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กองทุนรวม RMF เลย จะสามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีในโควต้าประกันบำนาญได้สูงสุดเท่าไหร่ และจะประหยัดภาษีไปได้เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่


ขั้นที่ 1

ตรวจสอบสิทธิของประกันชีวิตปกติว่าถึง 100,000 บาทหรือยัง
ผลการคำนวณ ยังไม่มี คือเหลือสิทธิลดหย่อนด้วยประกันบำนาญอีก 100,000 บาท

 
ขั้นที่ 2

ตรวจสอบสิทธิของประกันชีวิตบำนาญรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งรวมกันต้องไม่เกิน 500,000 ว่าเหลือสิทธิอีกเท่าไหร่

ผลการคำนวณ 500,000 –0 คือเหลือสิทธิลดหย่อนด้วยประกันบำนาญอีก 200,000 บาท (สิทธิลดหย่อนสูงสุดคือไม่เกิน 200,000)

 
ขั้นที่ 3

ตรวจสอบสิทธิลดหย่อนประกันบำนาญไม่เกิน 15% ของเงินได้ (ไม่เกิน 200,000)

ผลการคำนวณ 2,000,000 x 15% = 300,000 บาท แต่เกิน 200,000 บาท

ดังนั้น ก็ใช้สิทธิ์ลดหย่อนประกันบำนาญได้ 200,000 บาท และใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีในโควต้าประกันชีวิตแบบทั่วไปได้อีก 100,000 บาท รวม 300,000 บาท

แสดงว่าซื้อ 350,000 บาท แต่เอาไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ 300,000 บาท

ผลการคำนวณภาษีที่ประหยัด

ถ้าเสียภาษีในขั้นอัตรา 15% ก็จะประหยัดภาษีไปได้ปีละ 300,000 x 15% = 45,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว

เขียนโดย ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล นักวางแผนการเงิน CFP

============
ฟรี…บริการออกแบบประกันให้ความความต้องการ

เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน/ความคุ้มครองที่ต้องการ หรือ งบประมาณเบี้ยประกันต่อปี
แอดไลน์ : https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS หรือ  0849290088
วางแผนดอทคอมจะส่งแบบประกันพร้อมเบี้ยและรายละเอียดให้ทางไลน์โดยเร็วที่สุดค่ะ


หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง
วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS หรือ 0849290088
Line ID : napatcha0088
Facebook: Wangpaan
Youtube: Wangpaan

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้