16669 จำนวนผู้เข้าชม |
1. เปรียบเทียบประกันบำนาญ กับ ประกันสะสมทรัพย์
ถึงแม้ประกันชีวิตแบบบำนาญนี้จะเน้นไปที่การออมทรัพย์มากกว่าการคุ้มครองชีวิต แต่จุดที่แตกต่างกันคือ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ มักจะมีการจ่ายผลตอบแทนหรือ “เงินคืน” มาให้เรื่อยๆ ระหว่างช่วงเวลาที่อยู่ในสัญญาความคุ้มครอง
แต่ประกันชีวิตแบบบำนาญ จะไม่มีเงินคืนให้ในช่วงที่อายุยังน้อย แต่จะจ่ายคืนให้ในลักษณะคล้าย “เงินบำนาญ” เป็นจำนวนเงินตามที่แบบประกันกำหนดในทุกๆปี ตั้งแต่เริ่มเกษียณ โดยอาจกำหนดอายุเกษียณเป็น 55 ปี 60 ปีหรือ 65 ปี แล้วแต่แบบประกันที่เราเลือกทำ และจ่ายไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 85 หรือ 90 ปี แทน โดยที่เราต้องจ่ายเบี้ยตั้งแต่เริ่มทำประกัน และจ่ายไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่แบบประกันแต่ละแบบกำหนด อาจจ่ายแค่ปีเดียว 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี แล้วแต่แบบประกันที่เลือก จะเห็นได้ว่าการทำประกันบำนาญเป็นการสร้างความมั่นคงให้ตัวเองเมื่อถึงเวลาเกษียณ เป็นการรับประกันรายได้ นั่นหมายถึงว่าเราจะมีเงินใช้ในช่วงเวลาที่เราไม่มีรายได้จากการทำงาน
2. ข้อจำกัดของประกันบำนาญ
เป็นการวางแผนระยะยาวที่ใช้เวลานานกว่าจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินบำนาญตอนเกษียณ ทำให้อาจจะไม่เหมาะกับคนที่มีเป้าหมายต้องใช้เงินในระยะสั้น
ความคุ้มครองชีวิตอาจจะไม่สูงมาก จึงไม่เหมาะกับคนที่มีภาระหรือคนที่ทำประกันชีวิตแบบเน้นคุ้มครองภาระการเงินเป็นสำคัญ ซึ่งต้องการทิ้งเงินก้อนใหญ่ให้คนที่อยู่ข้างหลังเมื่อตัวเองจากไป
เบี้ยประกันจะสูงตามอายุของผู้เอาประกัน นั่นหมายความว่า หากผู้ที่ต้องการวางแผนทางการเงิน มีอายุค่อนข้างสูง เบี้ยประกันที่จะต้องชำระย่อมสูงตามไปด้วย ดังนั้นหากเริ่มต้นทำประกันบำนาญตั้งแต่อายุยังไม่มากนักจะดีกว่า
3. ข้อดีของประกันบำนาญ
จะเห็นว่า การทำประกันชีวิตแบบบำนาญ นั้น เป็นการทำเพื่อวางแผนทางการเงินในระยะยาวกว่าการลงทุนแบบอื่นๆ แต่ก็มี จุดเด่นของประกันบำนาญ อยู่หลายข้อก็คือ
เป็นการออมเงินที่มีวินัยสูงและ การันตีเงินบำนาญตอนเกษียณอายุ ซึ่งเป็นเป้าหมายออมเงินระยะยาว ดังนั้น เมื่อทำประกันบำนาญ เราจึงแน่ใจได้เลยว่า เราจะมีเงินใช้ตอนเกษียณแน่ๆส่วนหนึ่งอย่างแน่นอน แบบไม่ต้องเสี่ยง
ประกันบำนาญหลายๆแบบ จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่แน่นอนอยู่ในช่วง 2-4% ต่อปี แล้วแต่แบบประกัน จึงเหมาะใช้เป็นการออมแบบที่ต้องการความปลอดภัยในระยะยาว สำหรับคนที่ต้องการวางแผนเก็บเงินเกษียณ ต่างจากเครื่องมืออื่นที่เป็นการลงทุน ที่อาจจะมีความผันผวนของผลตอบแทน
ถึงแม้จะอยู่ไม่ครบกำหนดอายุสัญญา แต่ก็มีเงินบางส่วนที่สามารถส่งต่อให้แก่ครอบครัวที่อยู่ข้างหลังได้ ไม่เป็นภาระแก่ลูกหลานในอนาคต
สามารถนำไป ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในช่วงก่อนเกษียณสำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายออมในทุกๆปี สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท และไม่เกิน 15% ของเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี ซึ่งเงินก้อนนี้เมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) รวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาท
4. เงื่อนไขพิเศษของประกันบำนาญ
หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถาม เช็คเบี้ยหรือสมัครทำประกัน ติดต่อ
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล คุณวุฒิ MDRT และ CFP® (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
ผู้จัดการขาย Triple A บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง
วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: @Wangpaan
Facebook: Wangpaan
Twitter: @Wangpaan
Youtube: Wangpaan
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ