อัพเดท ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2566 อะไรลดหย่อนได้บ้าง

1543 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลดหย่อนภาษี

อัพเดทล่าสุด!!!  
ลดหย่อนภาษี 2566 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว (คู่สมรสจดทะเบียน พ่อ แม่ ลูก)
 
1.1 ลดหย่อนส่วนตัว  60,000 บาท ใช้ลดหย่อนได้ไม่มีเงื่อนไข

1.2 ลดหย่อนคู่สมรส (แบบจดทะเบียนตามกฎหมาย) 60,000 บาท โคู่สมรสต้องไม่มีรายได้ (สูงสุดมีได้แค่ 1 คน)

1.3 ลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 60,000 บาทต่อการตั้งครรภ์หนึ่งครั้ง สิทธิลดหย่อนนี้จะให้กับภรรยา ยกเว้นภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจึงจะได้สิทธิใช้ลดหย่อนแทน

1.4 ลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท 
เงื่อนไข
- ต้องเป็นบุตรตามกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว 
- อายุไม่เกิน 20 ปี
- หรือคนที่เกิน 20 ปีก็อายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ 
- หรือถ้าอายุเกิน 25 ปี แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 
- บุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

1.5 ลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูพ่อแม่ของตนเองและของคู่สมรส คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน และลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท 
เงื่อนไข
- พ่อแม่ต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี
- และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
- ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้
- ต้องเป็นพ่อแม่แท้ๆ ไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม

1.6 ลดหย่อนภาษีค่าอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ คนละ 60,000 บาท ผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี มีบัตรประจำตัวผู้พิการและมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ


2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการลงทุน และ ประกัน  

2.1 เบี้ยประกันชีวิต และ ประกันออมทรัพย์ หรือประกันแบบสามัญ (Ordinary) ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือที่เรียกกันว่า ลดหย่อนแสนแรก

2.2 เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษี สูงสุด  25,000 บาท (เมื่อคิดรวมกับกับประกันชีวิต, ประกันออมทรัพย์, ประกันแบบสามัญต่างๆ แล้ว ได้ไม่เกิน 100,000 บาท)

2.3 เงินสมทบประกันสังคม ลดหย่อนภาษี สูงสุด 9,000 บาท

2.4 เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (นับรวมทั้งพ่อและแม่)

2.5 เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

2.6 เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ สูงสุด 200,000 บาท 

2.7 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ สูงสุด 500,000 บาท

2.8 กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ สูงสุด 200,000 บาท

2.9 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุด 500,000 บาท

2.10 กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ สูงสุด 500,000 บาท

2.11 กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท (เพิ่งปรับขึ้นจากเดิม)

หมายเหตุ
กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน ข้อ 2.6-2.11 ลดหย่อนภาษีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
 

และล่าสุด กองทุน TESG ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้ - วงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท
===================
สอบถามเบี้ยอายุเฉพาะคุณได้ที่ ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล ตัวแทนประกันชีวิตตำแหน่งผู้จัดการ คุณวุฒิ MDRT2021-2024
ให้วางแผนดอทคอมดูแลเรื่องประกันให้คุณสิคะ เรามีบริการหลังการขายตลอดอายุสัญญาค่ะ

ฟรี…บริการออกแบบประกันของคุณความความต้องการ เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน สามารถกำหนดเบี้ยที่จะจ่ายและเงินที่จะรับแต่ละปี ส่งมาที่
แอดไลน์ : 0849290088 หรือคลิก https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS  
===================

ตัวอย่างแบบประกันที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ (แบบแสนแรกและแบบบำนาญลดหย่อนภาษี 2 แสนหลัง) 

ได้ลดหย่อนภาษี ได้ผลตอบแทน ได้ความคุ้มครองจากประกันสะสมทรัพย์ 6 แบบ คลิก https://www.wangpaan.com/content/9801/save-tax 

ลดหย่อนภาษี

 

เปรียบเทียบประกันบำนาญลดหย่อนได้ 8560จี15 หรือ 8555จี20 แบบไหนดี
คลิก https://www.wangpaan.com/content/10578/tax-planning 

ลดหย่อนภาษี


วิธีคำนวณผลตอบแทน IRR ของประกันบำนาญด้วยโปรแกรม Excel

คลิก https://www.wangpaan.com/content/10303/irr 

ลดหย่อนภาษี

 

[How to] กองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีปี 2566 SSF กับ RMF ซื้ออันไหนดี
คลิก https://www.wangpaan.com/content/10714/rmf-ssf  

ลดหย่อนภาษี


ลดหย่อนภาษีแบบ 2 แสนหลังด้วยประกันบำนาญ แบบไหนจะได้เงินบำนาญมากกว่ากัน
คลิก https://www.wangpaan.com/content/12340/tax 


ลดหย่อนภาษี
 

 

ลดหย่อนภาษี
ติดต่อสอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®, MDRT2021-2024
Tel & Line : 0849290088 
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
ผู้จัดการขาย Triple A  บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง
วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS  
Facebook: Wangpaan
Youtube: Wangpaan

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้