1932 จำนวนผู้เข้าชม |
การส่งมอบทรัพย์สินโดยเสียภาษีให้น้อยที่สุดอย่างถูกต้อง
การวางแผนประหยัดภาษีให้ทรัพย์สินที่สร้างไว้ เพื่อส่งต่อให้ลูกหลานแบบปลอดภัยครบถ้วน เพื่อให้มรดกที่สะสมไว้ปลอดภัย และให้ทายาทรับมรดกโดยไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีมรดก ภาษีการรับการให้อย่างถูกต้องตามกฎของสรรพากร
วิธีในการวางแผนมรดกเพื่อส่งมอบให้ทายาท
1. ทำพินัยกรรม
ส่งมอบโดยการทำเป็นเอกสารมอบทรัพย์สินหลังการเสียชีวิตของเจ้ามรดก ระบุชื่อผู้ที่ต้องการจะมอบทรัพย์สินให้ โดยการทำพินัยกรรมต้องทำตามวิธีที่กฎหมายกำหนด
ข้อดีของการทำพินัยกรรม คือ ทรัพย์สินที่เป็นมรดกถูกส่งมอบให้บุคคลตรงตามความต้องการของเจ้ามรดก โดยที่บุคคลผู้รับมรดกสามารถเป็นได้ทั้งทายาทหรืออาจให้บุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่ทายาท ไม่ใช่ญาติ หรือไม่มีความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับเจ้ามรดก ก็สามารถรับมรดกได้
ข้อเสียของการทำพินัยกรรม คือ การทำพินัยกรรมจะต้องเสียภาษีการรับมรดก สำหรับมรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท (โดยนับรวมทรัพย์สินทุกอย่างที่สามารถระบุชื่อเจ้าของได้)
2. ทยอยส่งมอบทรัพย์สินในขณะที่เจ้าของทรัพย์ยังมีชีวิตอยู่ โดยในแต่ละปีค่อยๆ ส่งมอบในจำนวนเงินที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดภาษีการรับมรดก ช่วยทำให้ไม่ต้องเสียภาษีมากจนเกินไป
ข้อดีของการทยอยส่งมอบ คือ ช่วยให้จำนวนเงินที่ทยอยาอบไปแล้ว ไม่ต้องเสียภาษีมรดก และหากทยอยส่งมอบในจำนวนไม่เกินกฎหมายการรับการให้ระบุว่าต้องเสียภาษี ก็จะแบ่งเบาภาระภาษีได้
ข้อเสียของการทยอยส่งมอบ คือ การมอบทรัพย์สินไปในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ อาจทำให้เจ้าของทรัพย์ลำบากได้หากทรัพย์สินถูกแบ่งแยกหรือยกให้ผู้อื่นไปแล้ว
3. เปลี่ยนทรัพย์สินที่เสียภาษีมรดก เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือได้รับการยกเว้นภาษีนั่นเอง เช่น การทำประกันชีวิต โดยระบุผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์เป็นทายาทที่เจ้าของทรัพย์สินต้องการมอบทรัพย์ส่วนที่ได้จากกรมธรรม์ไว้ให้โดยได้ในรูปของเงินสินไหมมรณกรรม
ข้อดีของการทำประกันชีวิต คือ ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองชีวิตสูง ทำให้ทรัพย์ที่มีอยู่เกิดการเพิ่มมูลค่าขึ้นตามระยะเวลา โดยที่สินไหมมรณกรรมหรือเงินคืนที่ได้จากประกันชีวิตไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก เนื่องจากสินไหมมรณกรรมไม่ถือว่าเป็นมรดก
แบบประกันที่เหมาะสำหรับการวางแผนมรดก
เนื่องจากผู้เขียนเป็นตัวแทนประกันชีวิตของเมืองไทยประกันชีวิต จึงขอรีวิวแบบประกันชีวิตที่ทำเพื่อเน้นการวางแผนเพื่อประหยัดภาษีในการส่งมอบทรัพย์สิน คือ แบบเมืองไทยพรีเมียร์เลกาซี่ของเมืองไทยประกันชีวิต
แบบเมืองไทยพรีเมียร์เลกาซี่
ความคุ้มครองเริ่มต้น 10 ล้าน
(ถ้าทำทุนประกันมากกว่านี้ เช่น ทุนคุ้มครองชีวิต 20 ล้าน ก็เอาตัวเลขในตารางคูณ 2 ได้เลยค่ะ)
มีวิธีชำระเบี้ย 2 แบบ คือพรีเมียร์เลกาซี่ 99/5 แบบส่ง 5 ปี กับพรีเมียร์เลกาซี่ 99/10 แบบส่ง 10 ปี
หากต้องการทราบเบี้ยเฉพาะอายุของคุณ ติดต่อ Line: @wangpaan
ตัวอย่างการเปรียบเทียบเบี้ยประกัน 3 แบบ
สำหรับชายอายุ 45 ปี กับ ชายอายุ 61 ปี
สมาร์ทโพรเทคชั่น 99/20 ชำระเบี้ย 20 ปี
*ชายอายุ 45 ปี เบี้ย 297,000 จ่าย 20 ปี เบี้ยรวมทั้งสัญญา 5.94 ล้าน
*ชายอายุ 61 ปี เบี้ย 555,000 จ่าย 20 ปี เบี้ยรวมทั้งสัญญา 11.1 ล้าน
พรีเมียร์เลกาซี่ 99/10 ชำระเบี้ย 10 ปี
*ชายอายุ 45 ปี เบี้ย 523,000 จ่าย 10 ปี เบี้ยรวมทั้งสัญญา 5.234 ล้าน
*ชายอายุ 61 ปี เบี้ย 834,000 จ่าย 10 ปี เบี้ยรวมทั้งสัญญา 8.34 ล้าน
พรีเมียร์เลกาซี่ 99/5 ชำระเบี้ย 5 ปี
*ชายอายุ 45 ปี เบี้ย 838,000 จ่าย 5 ปี เบี้ยรวมทั้งสัญญา 4.191 ล้าน
*ชายอายุ 61 ปี เบี้ย 1,301,000 จ่าย 5 ปี เบี้ยรวมทั้งสัญญา 6.5095 ล้าน
====================
ฟรี…บริการออกแบบประกันให้ความความต้องการ
เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน/ความคุ้มครองที่ต้องการ หรือ งบประมาณเบี้ยประกันต่อปี
แอดไลน์ : @wangpaan หรือ 0849290088
วางแผนดอทคอมจะส่งแบบประกันพร้อมเบี้ยและรายละเอียดให้ทางไลน์โดยเร็วที่สุดค่ะ
สอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®, MDRT
Tel&Line : 0849290088 หรือ https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS
ตัวแทนประกันชีวิต ตำแหน่งผู้จัดการขาย Triple A เมืองไทยประกันชีวิต
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
Facebook: Wangpaan
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscribe จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ...